วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ในคาบเรียนนี้อาจารย์ได้ให้สอบสอนของแต่ละกลุ่มโดยอาจารย์จะให้ข้อคิดของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
ของดิฉันสอนเรื่องการขยายพันธุ์มะม่วง โดยดิฉันใช้วิธีการตอนกิ่งในการสอนแต่
อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะให้การสอนว่า ควรใช้วิธีที่ง่ายกว่านี้คือการเพาะเมล็ด และอธิบายให้เด็กฟังว่าก่อนจะเกิดเป็นต้นมะม่วงมีวิธีการปลูกอย่างไร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องแผนของแต่ละคนโดยให้ดูแผนของตนเองว่ามีการสอดแทรกคณิตศาสตร์ไหม มีในเรื่องใดและพูดถึงกรอบคณิตศาสตร์
อาจารย์ ยังทบทวนและ เน้นเนื้อหา เพื่อที่จะเขียนแผน โดยต้องยึดหลัก ขอบมาตรฐานทางคณิต และ พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ
-ร่างกาย
-อารมณ์
-สังคม
-สติปัญญา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันนี้อาจารย์ทบทวนเรื่องการเขียนแผน ขอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ และ ยกตัวอย่าง แผนการสอนแบบProject Appproach เรื่อง รถยนต์ เพราะการสอนแบบ Project Appproach เด็กเป็นศุนย์กลาง และ เด็กเป็นผู้ลงมือ กระทำด้วยตนเอง การที่จัดการเรียนการสอนแบบนี้ ครูไม่จำเป็นต้องหาสื่อ อุปกรณ์ เพียงผู้เดียว แต่ครูสามารถให้เด็กนำมาเพื่อประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียนกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงา
นและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน
มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

อธิบายตัวอย่างผนการสอนให้ฟัง ได้พูดถึงกรอบพัฒนาการที่ควรมีและกิจกรรม ดังนี้
- พัฒนาการด้านร่างกาย

- พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ

- พัฒนาการด้านสังคม
- พัฒนการด้านสติปัญญา

การจัดกิจกรรม

- เริ่มจากประสบการณ์เดิมของเด็ก

- ให้ใช้คำถามเพื่อดึงประสบการณ์เดิมและใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด

- กิจกรรมประจำวัน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันนี้อาจารย์ให้เข้าพบเป็นกลุ่ม
และอาจารย์ให่คำแนำนำเกี่ยวกับขั้นสอนว่าควรจะเป็นการสอนโดยใช้ของจริงแทนการใช้เกมการศึกษา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการสอน และ ให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อฟังการชี้แนะอย่างระเอียด และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับดิฉันในการเขียนแผนคือต้องใช้นิทาน หรือเพลงหรือคำคล้องจอง เป็นขั้นนำ แทนการถามคำถาม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันนี้อาจารย์ ดูแผนการสอนที่จะใช้สอบสอน แต่ละกลุ่ม และให้คำชี้แนะ ว่าควรจะปรับเปลี่ยนแผนอย่างไรให้เหมาะสมกับเนื้อหารที่เราจะสอน
และ วันนี้ อาจารย์ ก็ทบทวนเรื่อง ขอบมาตราฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
เช่น
มาตรฐานการเรียนรู้คือ เกณฑ์ขั้นต่ำของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็น
ส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี ช่วยให้มองเห็น
ได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือ
ไม่หรืออาจกล่าวว่าเกมการศึกษาหมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน มีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้- เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ
- เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด
- เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมา
วางในตาราง- ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
- ฝึกการคิดหาเหตุผล- ฝึกการตัดสินใจ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และ คณิตศาสตร์ก็ถือว่า เป็นภาษา ที่เป็นเครื่องมือในการคิด

มาตราฐานการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ครูเป็นแนวในการสอนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ตามเป้าหมายทางผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษา โดยกำหนดขึ้นโดย สสวท มีทั้ง หมด 6 ข้อ
สาระที่ 1 จำนวนและกำดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์